top of page
ค้นหา

ตำรับยาต้านโควิท

ตามคัมภีร์ตักศิลา ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ใช้รักษาโรคไข้มาช้านานหลายร้อยปี มีการบันทึกเกี่ยวกับการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ ได้ระบุวิธีการรักษาตามลำดับขั้นตอน 3 ตำรับดังนี้

  • ลำดับแรกต้องรักษาด้วยตำรับยากระทุ้งพิษเพื่อขับพิษออกจากร่างกายโดยใช้ยาห้าราก ซึ่งยาชนิดนี้ได้รับการบรรจุไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติ

  • จากนั้นรักษาต่อด้วยตำรับยาแปรไข้ ได้แก่ จันทลีลา หรือยาประสะจันทน์แดง ซึ่งช่วยลดอาการไข้ ความร้อนขึ้น

  • ลำดับสุดท้ายรักษาต่อด้วยตำรับยาครอบไข้ ได้แก่ ยาครอบไข้ตักศิลา ช่วยบำรุงอวัยวะภายใน และบำรุงร่างกายให้แข็งแรงไม่กลับมาเป็นซ้ำ ซึ่งตามบันทึกโบราณดังกล่าวล้วนใช้พืชสมุนไพรไทยเป็นองค์ประกอบของการปรุงยาทั้งสิ้น




สำหรับเชื้อไวรัสโควิด – 19 ลักษณะของโรคส่งผลให้ร่างกายสร้างภูมิเยอะเกินไป แพทย์แผนปัจจุบัน รักษาด้วยการให้ยากดภูมิ ในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ณ ปัจจุบัน ยังไม่พบยารักษาหรือกำจัดไวรัสชนิดนี้ได้โดยตรง จึงมีความจำเป็นต้องรักษาและประคับประคองตามลักษณะอาการของผู้ป่วย ซึ่งมีความแตกต่างจากการรักษาในรูปแบบของแพทย์แผนไทย โดยจะทำการรักษาด้วยการปรับสมดุลของร่างกาย มีการใช้พืชสมุนไพรและอาหารเป็นหลัก เช่น การเลือกรับประทาน “อาหารเป็นยา” ซึ่งนับเป็นหลักการในการป้องกันตนเองในขั้นต้น ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ยกตัวอย่างเมนูอาหารที่ปรุงจากพืชสมุนไพรไทย เช่น แกงส้มดอกแค, แกงเลียง, ต้มยำ เป็นต้น หรือการรับประทานพืชสมุนไพรที่มีวิตามินซีสูง เช่น มะขามป้อม มะนาว ใบมะขาม ใบส้มป่อย ในส่วนของผู้ที่ต้องการรับประทานสมุนไพรฟ้าทะลายโจรสามารถรับประทานได้ แต่ต้องลดปริมาณลงเหลือเพียงวันละ 1 มื้ออาหารก็เพียงพอ เนื่องจากหากรับประทานมากเกินไป ในระยะยาวอาจส่งผลต่อระบบไตและทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพได้


กระบวนการรักษาและการใช้ยาตามหลักการแพทย์แผนไทยดังกล่าวยังมีอีกมากมายหลายขนานที่กล่าวมาเป็นเพียงการยกตัวอย่างให้เห็นภาพและเข้าใจพอสังเขปซึ่งนับเป็นภูมิปัญญาเชิงการแพทย์ของบรรพบุรุษไทยที่ได้ศึกษาเรียนรู้พัฒนาและถ่ายทอดสืบต่อกันมาภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทยดังกล่าวมีความพร้อมทั้งในเชิงป้องกันและในเชิงรักษาผู้ที่ติดเชื้อ หรือผู้ที่กังวลว่าจะติดเชื้อหรือไม่ โดยสามารถบูรณการกระบวนการรักษาร่วมกันกับการแพทย์แผนปัจจุบันได้ เพื่อใช้เป็นทางเลือกให้กับประชาชนในภาวะที่ประสบวิกฤตการณ์โรคระบาดในครั้งนี้หรือในอนาคตได้ โดยหากแต่ละครัวเรือนมีองค์ความรู้เกี่ยวกับการเพาะปลูก กระบวนการดูแล สรรพคุณของพืชสมุนไพรไทย และสามารถปลูกไว้ประจำครัวเรือนได้ จะยังประโยชน์ทั้งแก่ตนเอง ครอบครัว และชุมชน ซึ่งในอนาคตอาจสามารถใช้เป็นอาหารเสริม หรือยาสามัญประจำบ้าน และลดการพึ่งพาระบบสาธารณสุขหรือการแพทย์ในกรณีที่เกิดสภาวะฉุกเฉินน้อยลง

ดู 46 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

コメント


bottom of page