top of page
ค้นหา

ไมเกรน / ลมปะกัง

สมุฎฐานโรค

โรคลมปะกังเป็นโรคที่เกิดจากลมอุทังคมาวาตาพิการทำให้ทำให้มีอาการปวดศีรษะ ลมปะกังตามตำราแพทย์แผนไทยโบราณ บางครั้งจะมีอาการปวดในช่วงเช้า ปวดกระบอกตา ตาพร่า ตามัว ลมปะกังเป็นโรคลมชนิดหนึ่ง ในกลุ่มลมกองละเอียด “เป็นลมระคนด้วยกำเดา” ตีขึ้นเบื้องสูงถึงศีรษะ ลมปะกังเกิดจากลมร้อนคือลมและกำเดาลมร้อนที่ตีขึ้นเบื้องสูงเกิดเป็นไอร้อนกระจายและเคลื่อนต่ำขึ้นที่สูงศีรษะ เมื่อลมร้อนตีขึ้นศีรษะก็จะหาทางออก ทำให้เกิดอาการหูอื้อ ตาร้อนผ่าว จมูกแห้ง ลิ้นแห้ง แต่ถ้าหากเกิดการติดขัดไม่ออกหรือออกน้อย จะตีกลับไปที่ศีรษะ ทำให้ปวดศีรษะ มึนงง หนักศีรษะ ตาลายวิงเวียน ผะอืดผะอม


อาการของไมเกรน

มีอาการปวดตุบๆ ตามการเต้นของชีพจร ปวดหัวข้างเดียวเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมักมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนร่วมด้วย ระยะเวลาของอาการปวดในผู็ใหญ่ 4 - 72 ชั่วโมง ส่วนเด็ก 2-48 ชั่วโมง




แนวทางการรักษา

การใช้ยาสมุนไพรร่วมกับการทำหัตถเวชกรรมไทย เช่น

  • การนวดรักษา โดยยึดหลักการกระจายลม กระจายการไหลเวียนของเลือดลม

  • การพอกยาลดปิตตะที่กำเริบขึ้นด้านบน ลดความร้อนที่ช่วงบนของร่างกาย ทำให้อาการปวดไมเกรนลดลง

  • ประคบร้อน บริเวณบ่า ต้นคอ เพื่อให้ความร้อนช่วยกระจายลมในบริเวณที่ปวดเนื่องจากลมอั้น

 

ตำรับยาที่ใช้ในการรักษา

"CBD Plus" /น้ำมันหุงใบเพสลาดกัญชา

ในการศึกษาการใช้กัญชาทางการแพทย์ผู้ป่วรายงานว่ามีอาการไมเกรนกำเริบน้อยลง 6 ครั้งต่อเดือนหลังการใช้กัญชาสูดดมและรับประทาน จากงานวิจัยพบว่าในการป้องกันไมเกรนการใช้ tetrahydrocannabinol (THC) และ cannabidiol (CBD) ขนาด 200 มก. ต่อวัน เทียบเท่ากับการใช้ amitriptyline (chlordiazepoxide) ซึ่งเป็นยารักษาไมเกรนทั่วไป ขนาด 25 มก. ต่อวันเมื่อมีอาการแบบเฉียบพลัน สามารถลดความรุนแรงของอาการปวดในผู้ป่วยไมเกรนลง 43.5% รวมถึงการทำงานของระบบ endocannabinoid (ECS) ของร่างกายที่มีหน้าที่ควบคุมกระบวนการทางสรีรวิทยาความอยากอาหาร ความจำ เมตาบอลิซึม การตอบสนองของภูมิคุ้มกัน และความรู้สึกเจ็บปวด

เมื่อ ECS ผิดปกติก็เป็นอีกสาเหตุของอาการไมเกรน Ethan Russo นักประสาทวิทยาผู้บุกเบิกการวิจัย cannabinoid ชี้ว่าความผิดปกติของ ECS อาจเป็นสาเหตุพื้นฐานของภาวะเรื้อรังเช่น fibromyalgia อาการลำไส้แปรปรวน และไมเกรนด้วย ดังนั้นการเติมการใช้กัญชาเพื่อกระตุ้นการทำงานของ endocannabinoid เป็นตัวเลือกอีกทางนึงในการบรรเทาอาการ โดยในงานวิจัยยังรายงานว่า ในผู้ป่วยโรคไมเกรนที่ชอบปวดเรื้อรัง ตรวจพบสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ที่ชื่อว่า AEA ในน้ำไขสันหลังน้อยกว่าคนทั่วไปที่ไม่ได้เป็นไมเกรนและยังพบว่า การที่มีสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ในร่างกายน้อย ยังทำให้ร่างกายไวต่อการปวดได้มากขึ้น หรือ ทนต่อการปวดด้วยสาเหตุต่างๆไม่ค่อยได้นั่นเองจึงเริ่มเป็นที่ยอมรับว่า กัญชา อาจจะเป็นยาแก้ปวดที่ครอบคลุมที่สุดที่โลกมนุษย์เคยค้นพบ


ตำรับยาอื่นที่ใช้ร่วมในการรักษา

  • ยาบัวบกลดอาการปวดศีรษะข้างเดียว (ไมเกรน) บำรุงสมอง แก้ความดันโลหิตสูง

  • ยาขิง แก้คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว อาการนำก่อนที่จะมีอาการปวดไมเกรน

  • เถาวัลย์เปรียง ถ่ายกระษัย แก้เส้นเอ็นขอดเนื่องจากไมเกรนซึ่งมีความสัมพันธ์กับอาการตึงของกล้ามเนื้อ

  • ยาผสมโคคลาน บรรเทาอาการ ปวดเมื่อยตาม ร่างกาย

  • ตำรับยาหอมกระจายกองลม ยาหอมเทพจิตร ยาหอมทิพโอสถ

 

ข้อแนะนำในการปฎิบัติตนเมื่อเป็นไมเกรน

  • งดอาหารแสลงอาหารพวกมันเย็น เช่น ไอศกรีม เนยแข็ง เพราะอาหารแสลง อาทิ หน่อไม้ เครื่องในสัตว์ มีกรดยูริคสูง ซึ่งทำให้มีอาการปวด

  • ออกกำลังกายด้วยท่าฤๅษีดัดตนท่าแก้ลมปวดศรีษะ

ดู 153 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comentários


bottom of page