top of page
ค้นหา

โรคหลอดเลือดสมอง/อัมพฤกษ์-อัมพาต

อัปเดตเมื่อ 31 ต.ค. 2565

โรคหลอดเลือดสมอง หรือ อัมพฤกษ อัมพาต /Stroke ทางการแพทย์แผนไทยเกิดจากลมอุทธังคมาวาตาและลมอโธคมาวาตา พัดระคนกัน ทําให้มีอาการอัมพฤกษ์-อัมพาต

  • อัมพฤกษ์ หมายถึง ผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขน-ขา แต่สามารถขยับได้ระดับหนึ่งหรือหยิบ จับสิ่งของที่มีน้ําหนักตามปกติไม่ได้ เป็นโรคที่คล้ายคลึงกับอัมพาต แต่อาการน้อยกว่า

  • อัมพาต หมายถึง ผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขน-ขา ไม่สามารถขยับได้ซีกใดซีกหนึ่ง ลิ้น แข็งพูดไม่ชัด ปากเบี้ยว

  • ลมอัมพฤกษ์ หมายถึง ลมที่ทําให้เกิดการเคลื่อนไหวไม่ได้ โดยกระดูกไม่เคลื่อน

  • ลมอัมพาต หมายถึง ลมที่ทําให้เคลื่อนไหวไม่ได้และมีอาการกระดูกเคลื่อน ลมจับเอาก้นไปถึงราวข้าง จับเอาหัวใจแล้วให้ซึมมึน แล้วขึ้นไปราวบ่าทั้งสองข้างขึ้นไปจับเอาต้นลิ้น เจรจาไม่ได้ชัดแล


กลไกการเกิดโรคอัมพฤกษ อัมพาต ตามหลักทฤษฎีการแพทย์แผนไทย

  • เกิดจากลมขึ้นเบื้องสูง คือ ลมอุทธังคมาวาตาและลมลง เบื้องต่ํา คือ ลมอโธคมาวาตา พัดระคนกัน จนเกิดโทษ ลมทั้งสองนี้ เมื่อระคนกัน คือ ลมอโธคมาวาตา พัดย้อนขึ้น ไประคน กับ ลมอุทธังคมาวาตา หรือ ลมอุทธังคมาวาตา กลับพัดลงมาหา ลมอโธคมาวาตา เป็นเหตุให้โลหิตถูก พัดเป็นฟองและร้อนดังไฟ

  • ส่วนลมในทิศเบื้องต่ํา คือ ลมอัมพฤกษ์และลมอัมพาต เกิดแต่ปลายเท้าถึงเบื้องบน ลมทั้งสองนี้ เป็นที่ตั้งแห่งฐานลมทั้งหลาย เมื่อระคนกันก็ให้หวาดหวั่นไปทั่ว เพราะไปกระทบกับลมหทัยวาตะ คือ ลม ประจําหทยัง(หัวใจ) เมื่อลมระคนกันให้กําลังโลหิตแปรไป อาการที่ปรากฏจึงเป็นอาการทางระบบประสาท ให้จุกแน่น ชัก มือกํา เท้างอ ดิ้นไป ให้ลิ้นกระด้างคางแข็ง ขากรรไกรแข็ง เจรจาไม่ได้ บ)างสิ้นสติ หรือลมนั้นมีกําลังขับโลหิตให้คั่งเป็นวงเป็นสีตาม ร่างกาย

  • เกิดจาก 2 สาเหตุ คือ 1.)จากการบริโภคอาหารให้โทษ 8 ประการ คือ กินของดิบ บูดเน่า ของหยาบ ย่อยยาก กินมาก กินน้อยเกินไป กินผิด เวลา หรือกินเนื้อสัตว์มากเกินควร 2.)การกระทบร้อนกระทบเย็นมากเกิน

การรักษาและฟื้นฟูสภาพด้วยการแพทย์แผนไทย

การรักษาด้วยยาสมุนไพร แบ่งการรักษาเป็น 3 ช่วง ได้แก่

  • ช่วงต้น ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เลยหรือได้เล็กน้อย (เทียบระดับ motor power 0-2) ใช้ยารส สุขุมเย็น ได้แก่ ยาหอมทิพโอสถ หรือยาหอมเทพ จิตร ประมาณ 2-3 วัน เพื่อปรับระดับความดันโลหิต

  • ช่วงกลาง ผู้ป่วยเริ่มมีพัฒนาการ สามารถกระดิกนิ้ว มือ นิ้วเท้าหรือพอที่จะขยับแขนขาได้บ้าง แต่ยังไม่สามารถต้านแรงได้ (เทียบระดับ motor power 2-3) เน้นใช้ยารสสุขุมร้อน ได้แก่ ยาหอมนวโกฐ เพื่อช่วยกระตุ้นธาตุไฟ เสริมธาตุไฟ และอาจเพิ่มยาบํารุงเส้น ตามสภาพผู้ป่วยแต่ละราย


  • ช่วงปลาย ผู้ป่วยมีพัฒนาการดีขึ้น สามารถที่จะยืน ได้ ทำกิจวัตรประจําวันได้ด้วยตนเองมากขึ้น หรือบางรายเริ่มที่จะฝึกเดินสามารถพยุงน้ําหนักตัวเองได้ เน้นใช้ยา รสร้อน ได้แก่ ยาแก้ลมอัมพฤกษ์ หรือยาสหัศธารา เพื่อปรับลม บํารุงธาตุให้บริบูรณ

  • ยาสําหรับรักษาอาการร่วมอื่นๆ ยาเถาวัลย์เปรียง = อาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดร่างกาย ยาธรณีสันฑะฆาต ชาชงชุมเห็ดเทศ ช่วยระบาย แก้ท้องผูก ช่วยให้ลมที่คั่งค้างตามเส้นและเสมหะที่ผิดปกติ


ยาตำรับกัญชา

ยาแก้ลมแก้เส้น แก้ลมในเส้น บรรเทาอาการมือเท้าชา อ่อนแรง

รูปแบบยา ขนาดและวิธีใช้ รับประทานครั้งละ 2 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ก่อนอาหาร น้ำกระสายยาที่ใช้

น้ำผึ้งรวง น้ำส้มซ่า

ถ้าหาน้ำกระสายยาไม่ได้ ให้ใช้น้ำสุกแทน

ข้อห้ามใช้ ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ที่มีไข้ และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี

ข้อควรระวัง ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)


  • ควรระวังการใช้ร่วมกับยา phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจากตำรับนี้มีพริกไทยในปริมาณสูง

  • ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคแผลเปื่อยเพปติก และโรคกรดไหลย้อน เนื่องจากเป็นตำรับยารสร้อน

  • ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยสูงอายุ

"โรคหลอดเลือดสมองเทียบเคียงกับโรคทางการแพทย์แผนไทย คือ โรคลมอัมพฤกษ์-อัมพาต เกิดจากลมทั้ง 2 ชนิด คือ ลมอุธังคมาวาตา เทียบได้กับระบบประสาทรับความรู้สึก ถ้าเกิดความพิการจะทำ ให้หมดความรู้สึกสัมผัส และลมอโธคมาวาตา เทียบได้กับระบบประสาทสั่งการ ถ้าเกิดความพิการจะทำ ให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ เมื่อลมทั้ง 2 ชนิดพัดระคนกัน จึงส่งผลให้เกิดโทษระคนกัน โดยแสดงอาการเหมือนกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เช่น ชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง" - สิทธิศักดิ์ ติคำ* อาจินต์ สงทับ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ข้อแนะนำในการปฎิบัติตัวของผู้ป่วย


  • ประคบความร้อนชื้น เพื่อใช้ความร้อนช่วย กระจายลมในบริเวณที่มีอาการปวดหรือชา ซึ่งผู้ป่วยจะรู้สึก ปวดกล้ามเนื้อลดลง กล้ามเนื้อผ่อนคลายขึ้นและช่วยการเพิ่ม การไหลเวียนของเลือด โดยประเมินจากการวัดความดันโลหิต ซํ้าหลังการบำ บัดรักษา (Nantadee, 2018 )

  • งดอาหารแสลง อาหารพวกของหวานจัด รสมันจัด ของเย็น เช่น ไอศกรีม เนยแข็ง เพราะอาหารแสลง อาทิ หน่อไม้ เครื่องในสัตว์ มีกรดยูริกสูง ทำ ให้มีอาการปวด อาหาร พวกมันเย็นจะส่งผลต่อธาตุไฟในร่างกายทำ ให้ธาตุไฟพิการ เมื่อธาตุไฟผิดปกติจะส่งผลกระทบต่อธาตุลมที่เป็นคู่ธาตุกัน ซึ่งเมื่อธาตุลมพิการ จะส่งผลให้อาการโรคหลอดเลือดสมอง กลับมา (Suknoo, 2021)

  • การทำท่าบริหาร เพื่อยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ อย่าง น้อยวันละ 3 ครั้ง แนะนำ ให้ทำกายบริหารท่าฤๅษีดัดตน ท่า ดึงแขน-เท้าแขน 3 จังหวะ ท่านั่งยอง ๆ ท่าเขย่งปลายเท้า ซึ่งจะช่วยยืดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่ปิดกั้นทางเดินของลม สามารถพัดเลือดและลมไปเลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ดีขึ้น ทำ ให้อาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณ หลัง บ่า แขน ต้นคอน้อยลง และช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด บริเวณหลัง บ่า คอ ศีรษะและช่วยป้องกันการแข็งเกร็งของกล้าม เนื้อได้ (Tikham, Viriyabubpa, & Bunluepuech, 2017)

  • พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกาย และธาตุทั้ง 4 มีความสมดุลกัน

  • ห้ามนอนทับแขน - ขา ข้างที่เป็นเนื่องจากจะ ทำ ให้เกิดอาการปวดหรือชาบางครั้งจากการนอนทับทำ ให้ การเคลื่อนไหวของลมบริเวณแขนและขาเคลื่อนไหวได้น้อยลง


ดู 20 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comments


bottom of page