top of page
ค้นหา

ความดันโลหิตสูง / หทัยวาตะกำเริบ

อัปเดตเมื่อ 3 พ.ย. 2565

ในตําราการแพทยแผนไทย มิได้เขียนหรือกล่าวไว้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง หมอโบราณบางท่าน เรียกว่า โรคหรืออาการลมขึ้นเบื้องสูงกําเริบ หรือหทัยวาตะ กําเริบ มีตํารับยารักษาโรคหรืออาการแต่ไม่ได้เขียนการดําเนินโรคโดยตรง โดยเป็นความผิดปกติของลม( อังคมังคานุสารีวาตา , ลมอุธังคมาวาตา, ลมอโธคมาวาตาเดินผิดปกติไปจากเดิม) ส่งผลให้เกิดอาการของหทัยวาตะกําเริบ ทําให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ลมตีขึ้น ทําให้แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก มึนงง วิงเวียน ปวด ศีรษะเป็นลมปะกัง แขนขาอ่อนเปลี้ยไม่มีกําลัง ทําให้แรงดันโลหิตสูงขึ้น ชีพจรในเส้น อัษฎากาศ(เส้นชีพจร) เต้นแรงกว่าปกติ



หลักการรักษา 3 ประการ

• ลดความร้อนของปิตตะ/ไฟ ที่เพิ่มขึ้น

• กระจายวาตะ/ลมที่กําเริบขึ้น

• ทําให้ทางเดินของวาตะ/ลมเคลื่อนที่ได้สะดวกขึ้น


หลักในการรักษาขั้นพื้นฐานด้วยยาแผนไทย

• ใช้ยากลุ่มบํารุงหัวใจแก้อาการของลมกองละเอียด

• ใช้ยาในกลุ่มที่ช่วยขยายทางเดินของลมและ ขับถ่ายเสมหะที่อุดกลั้นทางเดินของลม

• ใช้ยาช่วยให้นอนหลับสงบประสาทเพื่อลด การทํางานของลม หรือยาขับปัสสาวะเพื่อขับของเสียที่สะสม ***ยาที่ปรุงจะไม่เป็นยาที่ร้อน ส่วนใหญ่จะเป็นยาทางสุขุมอาจมียาระบายหรือยาขับปัสสาวะ

• การรักษาให้ดูอาการของคนไข้เป็นหลักและดูสมุฏฐานของการเกิดโรค


1.โปรแกรมดูแลสุขภาพสำหรับกลุ่มเสี่ยง (BP ตัวบน 120-139 และ/ ตัวล่าง 80-89 มม.ปรอท)



  • ลดความร้อนของปิตตะที่เพิ่มขึ้น เช่น ใบตําลึง ใบย่านาง ดอกกระเจี๊ยบ

  • กระจายวาตะที่กําเริบ เช่น ขิง กระเทียม คืนฉ่าย

  • งดอาหารแสลงกระตุ้นความร้อนหรือลม กําเริบ เชน รสเค็มจัด เผ็ดจัด มันสูง

2.โปรแกรมดูแลสุขภาพสำหรับกลุ่มป่วย (BP < 160/100 มม.ปรอท)


  • การล้างพิษ(Detoxification) ใช้ยาสมุนไพร มะขามแขก /ชุมเห็ดเทศ

  • การปรับสมดุลธาตุ ด้วยอาหารหรือยาสมุนไพร เช่น ตรีผลา

  • ลดความร้อนของปิตตะที่เพิ่มขึ้น เช่น ใบตําลึง ใบย่านาง ดอกกระเจี๊ยบ

  • กระจายวาตะที่กําเริบ เช่น ขิง กระเทียม คื่นฉ่าย

  • นวดพื้นฐานและการเปsดประตูลม เพื่อกระจายลม

  • ประคบความร้อนทั่วร่างกายเพื่อกระจายเลือดลม

มูลเหตุแห่งการเกิดโรค 8 ประการ

  • การอดนอน อดน้ํา ส่งผลต่อปิตตะ(ไฟ) กําเริบ

  • อาหารรสจัด (เค็มจัด หวานจัด มันจัด เผ็ด จัด) กระตุ้น การทํางานของ ปิตตะ/ไฟย่อยอาหาร)

  • กลั้นอุจจาระ ปัสสาวะ ทํางานหนัก เศรัาโศก กระทบร้อน กระทบเย็น ถูกฝน ทําให้วาตะ/ลม กําเริบ

  • กินเผ็ด เปรี้ยว เค็ม ดื่มสุรา อาหารร้อน

  • โมโห โทโส ทําความเพียรมาก จนหิวจัด ออกกําลัง มาก อดนอน เสพเมถุนมาก ทําให้ไฟ กําเริบ

ดู 284 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comments


bottom of page